3 คาถาของคนทำงาน(อย่างเราๆ)
1. คาถาคนทำงาน
ขั้นแรก...ท่อง นะโม 3 จบ ก่อน แล้วจึงค่อยท่องคาถานะ
อาจจะมี ... เซ็งไปบ้าง...ในบางครั้ง
อาจจะมี ...เบื่อกันบ้าง.... ในบางหน
อาจจะมี ...เหม็นขี้หน้า...กับบางคน
พยายามทน ทำงานไป เพราะได้ตังค์
2. คาถาปล่อยวาง
กูว่าแล้วในโลกนี้มีปัญหา
เขาไม่ด่า ก็ชื่นชม หรือเฉยๆ
สาม ประเภทที่ว่านี้มิเปลี่ยนเลย
จงวางเฉยใครถือสาเป็นบ้าตาย
3. คำสอนของพระพุทธเจ้า
อย่าไปนึกว่า ' คนอื่น ' เหนือกว่าเรา เพราะทำให้เกิดปมด้อย
อย่าไปนึกว่า ' คนอื่น ' ต่ำกว่าเรา เพราะทำให้เกิดทิฐิ
อย่าไปนึกว่า ' คนอื่น ' เสมอเท่าเราเพราะทำให้เกิดการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น
จงนึกเสมอว่า ' คนอื่นทุกคน ' เป็นเพื่อนรวมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด
การบรรยายธรรมะโดยท่าน ว.วชิรเมธี ท่านได้ให้พร 4 ข้อ ดังนี้
1. อย่าเป็นนักจับผิด
คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง ' กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก ' คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส ' จิตประภัสสร ' ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี ' แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข '
2. อย่ามัวแต่คิดริษยา
' แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน '
คนเราต้องมี พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า ' เจ้ากรรมนายเวร ' ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้องถอดถอน ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น ' ไฟสุมขอน ' ( ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน
เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี ' แผ่เมตตา ' หรือ ซื้อโคมลอยมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราร ิษยา แล้วปล ่อยให้ลอยไป
3. อย่าเสียเวลากับความหลัง
90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ ' ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น '
มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องภาระต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ ' อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน '' อยู่กับปัจจุบันให้เป็น ' ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี ' สติ ' กำกับตลอดเวลา
4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ
' ตัณหา ' ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ควา มอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ ' ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม '
ทุกอย่างต้องดู ' คุณค่าที่แท้จริง ' ไม่ใช่ คุณค่าเทียมเช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกาคืออะไร ? คือไว้ดูเวลาไม่ใช่ใส่เพื่อความโก้หรู
คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือคืออะไร ? คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้จริงของโทรศัพท์
เราต้องถามตัวเองว่า ' เิกิดมาทำไม ' คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย ์อยู่ตรงไหน ตามหา ' แก่น ' ของชีวิตให้เจอ
คำว่า ' พอดี' คือ ถ้า ' พอ ' แล้วจะ' ดี ' รู้จัก ' พอ ' จะมีชีวิตอย่างมีความสุข '
*** ชอบมากบทความนี้ ><~ หลายๆคนคงมีปัญหาเลยอยากให้อ่านกันนะ ***